งานระบบพัดลมระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม

#ระบบระบายอากาศในโรงงาน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นแหล่งสะสมความร้อน และฝุ่นละออง การบริหารจัดการพื้นที่ในการผลิตเพื่อไม่ให้เกิดลภาวะด้านอากาศ ที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิต และความร้อนของอากาศ เมื่อรวมกันแล้วค่าความร้อนอยู่ในระดับที่สูง เป็นอันตรายต่อแรงงานในโรงงาน ทั้งด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานลดลงด้วยระบบระบายความร้อน ต้องมีวิศวกรโรงงานเป็นผู้ดูแล และควบคุมโอยออกแบบให้เหมาะสมกับสินค้าทีผลิตเป็นหลัก ถ้าความร้อนมีระดับความสูงมากเกินไป อุณหภูมผิวหนังของคนทำงานจะรับไม่ไหว และเกิดเจ็บป่วย ส่งผลให้การทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ กำลังการผลิตสินค้าลดลงตามไปด้วย

#สาเหตุที่ต้องมีระบบระบายอากาศในโรงงาน ในกระบวนการผลิตในโรงงาน สารพิษต่างๆในบรรยากาศเป็นสาเหตุการเกิดอันตราย และโรคหลายชนิด เช่น โรคแพ้พิษตะกั่ว โรคปอดฝุ่นทราย หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคปอดเรื้อรัง และยังอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จนถึงอาการขาดอ็อกซิเจน จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้อุปกรณ์เครื่องมือก็เกิดการผุกร่อนเร็วขึ้น และเป็นสาเหตุของการระเบิด และการเกิดอัคคีภัย การกระจายสู่บรรยากาศ ทำได้ด้วยการระบายอากาศ (Ventilation)

การระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการระบายอากาศที่ปนเปื้อนออกจากที่ทำงาน และนำอากาศสะอาดเข้ามาทดแทน ถือเป็นการป้องกันอันตรายวิธีหนึ่ง หรืออาจใช้วิธีอื่น เช่น ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีอันตราย ในกระบวนการผลิต

การควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นให้อยู่ในระดับที่รู้สึกสบาย ช่วยลดการเจ็บป่วย หงุดหงิด อึดอัด ลดอุบัติเหตุในการทำงาน และการลาออกของพนักงาน และลดความเสียหายต่อชิ้นงาน วัตถุดิบบางประเภทการเลือกขนาดพัดลมที่เหมาะสม

การเข้าใจคุณสมบัติ และข้อจำกัด่ของพัดลมแต่ละชนิดเป็นสิ่งสำคัญ การเลือกพัดลม การออกแบบ การติดตั้ง และการดูแลบำรุงรักษาสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

#หลักวิธีการเลือกซื้อพัดลมดูดอากาศ พัดลระบายอากาศ มีหลักการดังนี้

  • จุดประสงค์ในการนำพัดลมไปใช้งาน ในพื้นที่และจุดปฏิบัติงานอย่างไร
  • ห้องที่มิดชิด ปิดรอบด้าน ควรติดแบบดูดอากาศออก และเติมอากาศดีเข้าในห้อง
  • ต้องทราบขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงของห้องเพื่อกำหนดอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศให้เหมาะสม จะสามารถเลือกกำลังประสิทธิภาพของพัดลมที่มาติดตั้ง
  • เลือกตามชนิด ลักษณะ ความเข้มขนของสารปนเปื้อน
  • เสียงดัง
  • ข้อจำกัดทางกายภาพ
  • วิธีการขับเคลื่อน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น